top of page
รูปภาพนักเขียนDoctor Anywhere Thailand

เช็กด่วน! คุณมีอาการ 'Brain fog' อยู่หรือไม่?เสี่ยงอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร!


เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น...ระบบต่างๆ ของร่างกายก็เสื่อมลง หลายคนคงเคยประสบปัญหารู้สึกว่าสมองเบลอระหว่างวัน หลงๆ ลืมๆ จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะสมองล้า หรือ 'Brain fog'



ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะกระทบเรื่องการเข้าสังคม การเรียน การทำงาน รวมถึงการนอนหลับ 'ภาวะสมองล้า' เป็นภาวะเครียดโดยไม่รู้ตัว จากการที่สมองทำงานหนักมากเกินไปเป็นเวลานาน จนส่งผลให้สารสื่อประสาทเสียสมดุล ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เปรียบเทียบเหมือนกับการมีหมอกมาบดบังการทำงานของสมอง จึงเป็นที่มาของชื่อ 'Brain Fog'


สาเหตุหลักๆ ของการเกิด Brain fog

  • เครียดและกังวลมากเกินไป

  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • ขาดการออกกำลังกาย

  • ร่างกายขาดน้ำ และขาดสารอาหาร เช่น กรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ

  • ร่างกายได้รับคลื่นแม่เหล็ก จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ มากเกินไป

  • ได้รับสารพิษบ่อยครั้ง เช่น อาหารปนเปื้อน มลพิษ สารเสพติด

  • ฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล

  • โรคเรื้อรังบางชนิด ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง

  • มีอาการทางจิตเวช เช่น ซึมเศร้า แพนิก


อาการของ Brain fog

ลองเช็กกัน! หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับ ‘ภาวะสมองล้า’ อยู่


อาการทางสมอง

  • หลงๆ ลืมๆ ความจำแย่ลง

  • คิดช้า ตัดสินใจช้า

  • จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน

  • ไม่มีสมาธิ

อาการทางร่างกายและอารมณ์

  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย สายตาอ่อนล้า


แนวทางการบำบัดรักษา และการป้องกัน Brain fog

  • แนวทางการบำบัดรักษา และการป้องกัน Brain fog

  • จัดตารางงานและสิ่งแวดล้อมใหม่ แบ่งเวลาเริ่มงาน-เลิกงาน ให้ชัดเจน

  • ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ให้ปลอดโปร่ง โล่ง สบาย

  • ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกมื้อ เน้นอาหารพวกโปรตีน ผัก ผลไม้ ลดน้ำตาล ไขมัน และเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ออกกำลังกายให้มากขึ้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที

  • ปรับการนอนหลับ นอนหลับให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป

  • เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา

  • เลี่ยงการเล่นโซเชียลก่อนเข้านอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

  • ลดความเครียด หาเวลาผ่อนคลายให้มากขึ้น

  • ลองทำงานอดิเรกที่ชอบ หรือออกไปท่องเที่ยวธรรมชาติ


ภาวะสมองล้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ถึงแม้อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เองในเวลาต่อมา แต่หากเกิดภาวะสมองล้าบ่อยครั้งจะทำให้เสี่ยงโรคอันตรายอีกหลายโรค เช่น อัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และสมองเสื่อมก่อนวัย


ดังนั้น สิ่งสำคัญสำคัญในการดูแลให้สุขภาพสมองแข็งแรง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น ก็สามารภช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองล้า หรือป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำได้อีก แต่หากภาวะสมองล้า ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลองปรับเปลี่ยนแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าเกิดจากการมีปัญหาของสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ ให้สังเกตตัวเองว่าสาเหตุหลักๆ มาจากอะไร และแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ทั่วไป หรือปรึกษาด้านสุขภาพจิตเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และหาแนวทางบำบัดรักษาได้อย่างตรงจุด



Doctor Anywhere ให้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ทั้งแพทย์ทั่วไป แพทย์เฉพาะทาง และปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการรับรอง

  • เพียงดาวน์โหลดแอป Doctor Anywhere

  • ปรึกษาแพทย์ได้ทันทีตลอด 24 ชม. หรือนัดหมายกับแพทย์ล่วงหน้าตามวันเวลาที่สะดวก

  • ปรึกษาจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ผ่านวิดีโอคอล ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิก (มีตัวเลือกบริการ ‘แชท’ ปรึกษา สำหรับแพทย์ทั่วไปเท่านั้น)

  • บริการจัดส่งยาฟรี! ภายใน 90 นาที (เฉพาะพื้นที่ที่ให้บริการ)


ดู 343 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page