การสูด PM2.5 ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะอาจเทียบได้กับการสูบบุหรี่ถึงสองมวน! มาทำความเข้าใจผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมวิธีป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศนี้กัน!
ทำความเข้าใจกับ PM2.5
PM2.5 หมายถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กพอที่จะเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดของเราได้ แหล่งที่มาของฝุ่นนี้รวมถึงการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ กระบวนการอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ในการเกษตร เมื่อสูดดมเข้าไป PM2.5 สามารถพาสารเคมีอันตราย เช่น สารก่อมะเร็ง เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจและหลอดเลือด
สูด PM 2.5 เข้าปอดเท่ากับการสูบบุหรี่กี่มวน
จากงานวิจัยของ Dr. Richard Muller ของสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ พบว่าการสูด PM2.5 ในระดับ 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 มวนต่อวัน
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เฉลี่ย 59.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หมายความว่าผู้อยู่อาศัยอาจได้รับผลกระทบเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง 3 มวนต่อวัน และมีแนวโน้มฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ ล่าสุด เดือน ก.ค. 2567 ของระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ หรือ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข จากเขตสุขภาพทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ พบว่า เฉพาะปี 2567 มีผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศ กว่า 6,800,000 คน สะท้อนความรุนแรงจากพิษภัยของฝุ่น PM2.5
ตารางค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 กับผลกระทบต่อสุขภาพ:
ผลกระทบต่อสุขภาพ
การสูบบุหรี่และการรับฝุ่น PM2.5 ต่างมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญ:
ปัญหาระบบทางเดินหายใจ: การรับฝุ่น PM2.5 หรือการสูบบุหรี่ในระยะยาวสามารถทำลายเนื้อเยื่อปอดและนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือมะเร็งปอดได้
ความเสี่ยงด้านหัวใจและหลอดเลือด: ทั้งสองปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากการอักเสบและความเครียดจากออกซิเดชัน
มะเร็ง: สารก่อมะเร็งที่พบในควันบุหรี่และฝุ่น PM2.5 สามารถกระตุ้นและส่งเสริมการเกิดมะเร็งได้
วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5
เพื่อปกป้องสุขภาพจากผลกระทบของ PM2.5 นี่คือวิธีปฏิบัติง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้:
สวมหน้ากากที่เหมาะสม: ใช้หน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้เมื่อออกนอกบ้าน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง: หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มลพิษสูง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ใช้เครื่องฟอกอากาศ: ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในบ้านหรือที่ทำงาน เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศ
ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด: ป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน
ติดตามสถานการณ์มลพิษ: ตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ เช่น AQICN และปฏิบัติตามคำแนะนำ
ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว: ใช้ระบบขนส่งสาธารณะหรือเดินทางร่วมกันเพื่อลดการปล่อยมลพิษ
หลีกเลี่ยงการเผาไหม้: ไม่เผาขยะ หรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดมลพิษ
การป้องกันตัวเองจาก PM2.5 ไม่ใช่เรื่องยาก หากเราใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบจข้าง แต่หากคุณเริ่มมีอาการผิดปกติ เช่น ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก หรือรู้สึกไม่สบายจากการสัมผัสฝุ่นละอองควรรีบปรึกษาแพทย์ บนแอป Doctor Anywhere สามารถปรึกษาแพทย์ ได้ง่ายๆทุกที่ ทุกเวลา เพื่อรับคำแนะนำและดูแลสุขภาพอย่างทันท่วงที💙
Comments