top of page
Writer's pictureDoctor Anywhere Thailand

เช็คด่วน! อาการแบบนี้หมดไฟ หรือซึมเศร้ากันแน่?



ในโลกการทำงานที่มีความเครียดและความกดดันสูง เราอาจพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับความเหนื่อยล้าที่เพิ่มมากขึ้น แต่คำถามก็คือ สิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่คือการหมดไฟ (Burnout) หรือซึมเศร้า (Depression) กันแน่? เราจะมาทำความเข้าใจและแยกแยะระหว่างสองอาการนี้มีว่าความแตกต่างกันอย่างไร และหาทางแก้ปัญหาอย่างถูกจุด


หมดไฟ (Burnout) คืออะไร?

การหมดไฟคือภาวะที่เกิดจากการทำงานหนักเกินไป หรือการเผชิญกับความเครียดเป็นเวลานาน ซึ่งมักส่งผลให้รู้สึกหมดพลังงาน ท้อแท้ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการหมดไฟนั้นมักเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น งานที่มีความต้องการสูง แต่ขาดการสนับสนุนจากองค์กร หรือการขาดความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน


  • สัญญาณของการหมดไฟ:

    • รู้สึกเหนื่อยล้าแม้จะนอนพักตื่นมาก็ยังล้าอยู่

    • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

    • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

    • รู้สึกว่าการทำงานนั้นไร้ความหมายหรือไม่มีคุณค่า

    • อาจมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ปวดหัว หรือปัญหาทางกายอื่นๆ


ซึมเศร้า (Depression) คืออะไร?

ซึมเศร้าเป็นภาวะทางจิตที่มีความรุนแรงและซับซ้อนกว่าการหมดไฟ มักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกสิ้นหวัง ไม่มีความสุข และไม่สนใจในสิ่งที่เคยชื่นชอบ โดยอาการซึมเศร้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยทางจิตใจและชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง หรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง


  • สัญญาณของซึมเศร้า:

    • รู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่อง

    • ขาดความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ

    • น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ

    • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

    • รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หรือคิดจบชีวิตตัวเอง


วิธีเติมไฟให้ตนเองกลับมามีกำลังใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น


1.พักผ่อนอย่างเพียงพอและจัดการเวลาพักอย่างมีคุณภาพ:

การพักผ่อนที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายและจิตใจฟื้นฟูพลังงาน หมั่นจัดสรรเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนในแต่ละวัน เช่น การทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ การนอนหลับให้เพียงพอ หรือนั่งสมาธิ เพื่อลดความเครียดและรีเฟรชจิตใจ


2.ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ และฉลองความสำเร็จ:

แทนที่จะตั้งเป้าหมายใหญ่ที่อาจทำให้รู้สึกท้อแท้ ให้ลองตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้ในแต่ละวัน เมื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ควรฉลองความสำเร็จเล็ก ๆ เพื่อกระตุ้นกำลังใจและสร้างแรงจูงใจในการทำงานต่อไป


3.หากิจกรรมที่เติมพลังและแรงบันดาลใจ:

ลองหากิจกรรมที่ช่วยเติมพลัง เช่น การออกกำลังกาย ฟังเพลงที่ชื่นชอบ อ่านหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจ หรือใช้เวลาในธรรมชาติ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยรีเซ็ทความคิดและให้คุณมีพลังงานใหม่ในการเผชิญกับความท้าทายในแต่ละวัน


4.ฝึกการคิดเชิงบวกและมองหาความหมายในสิ่งที่ทำ:

การฝึกฝนการคิดเชิงบวกช่วยให้คุณมองเห็นข้อดีในสถานการณ์ต่าง ๆ และลดความรู้สึกท้อแท้ นอกจากนี้ ลองหาเหตุผลหรือความหมายในสิ่งที่คุณทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ การรู้สึกว่าการกระทำของคุณมีคุณค่าและความหมายจะช่วยเติมไฟให้คุณมีแรงบันดาลใจในการทำงานต่อไป


ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หรือจิตแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Doctor Anywhere ได้แล้ววันนี้...ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็สามารถปรึกษาแพทย์อย่างเป็นส่วนตัวได้



สำหรับองค์กร: วิธีเติมไฟให้พนักงาน

การฟื้นฟูพลังงานและความสุขในการทำงานนั้นสำคัญต่อทั้งบุคคลและองค์กร 


1. สร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน: 

สนับสนุนให้พนักงานหาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน โดยการกำหนดเวลาพักผ่อนให้ชัดเจน หรือสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น

2. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ: 

สร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนการสื่อสารเปิดเผยระหว่างพนักงานและผู้บริหาร การมีช่องทางให้พนักงานแสดงความรู้สึกหรือข้อกังวลสามารถช่วยลดความเครียดและป้องกันการหมดไฟได้

3. การฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง: 

จัดอบรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีความก้าวหน้าและมีคุณค่าในองค์กร

4. การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต: 

นำเสนอบริการหรือโปรแกรมที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตให้กับพนักงาน เช่น การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพจิต

5. การประเมินและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน: 

สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ซึ่งอาจรวมถึงการปรับปรุงสถานที่ทำงานให้มีความสะดวกสบาย หรือการพิจารณารูปแบบการทำงานใหม่ๆ เช่น การทำงานแบบไฮบริด


การดูแลสุขภาพภายในในองค์กร

เพราะสภาพจิตใจ ล้วนส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน Doctor Anywhere มีบริการ Employee Assistance Program (EAP) หรือโปรแกรมให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้พนักงาน โปรแกรมนี้จะช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กับพนักงานในหลายๆ เรื่อง และนอกจากการดูแลสุขภาพจิตแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ สำหรับพนักงานองค์กรโดยเฉพาะ ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่พนักงาน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างมาก



366 views0 comments
bottom of page